Friday, March 18, 2011

3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปญญาของบรูเนอร (Bruner’s Cognitive Development theory)

3.  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปญญาของบรูเนอร (Bruner’s  Cognitive  Development  theory)  บรูเนอร์  เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องพัฒนาการทางความคิด  เขาเชื่อว่าพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ  จะต้องเกิดจากสิ่งต่อไปนี้  (วิณี  ชิดเชิดวงศ์.    2537  :  143-146)  
  1.  การให้เด็กทำสิ่งต่างๆอย่างมอิสระมากขึ้นทำให้มีพัฒนาการทางปัญญาขณะที่เด็กรู้ภาษา

  2.  การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ  เด็กจะสะสมความรู้ไว้  และสามารถทำนาย  คาดคะเนสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้
  3.  พัฒนาการทางความคิด  คือ  สามารถที่จะ  Concrete  สื่อสารให้คนอื่นและตนเองได้รูถึงสิ่งที่ตนกำลังทำโดยใช้ค่าต่างๆ  
  4.  ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ  บรูเนอร์บอกวา  พอ  แม่  ครู  หรือสมาชิกอื่นๆในครอบครัวจะต้องสอนเด็ก   
  5.  ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความิคด  ภาษาใช้สื่อความหมายทำให้เข้าใจตนเองและสิ่งต่างๆ   

  6.  การพัฒนาทางความคิดสังเกตได้จากการมีความสามรถเลือกทำกิจกรรม  และที่สนใจเหตุการณ์ได้เมื่อมีทางเลือกมาพร้อมๆกัน
. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
                        บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง     (discovery learning)      แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ
บรุนเนอร์ มีดังนี้    (Brunner,1963:1-54)
                        ทฤษฎีการเรียนรู้
                                    1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                                    2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
                                    3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
                                    4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
                                    5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                                                5.1) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
                                                5.2) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
5.3) ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
                                    6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
                                    7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery  learning)
                        การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
                                    1) กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
                                    2) การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
                                    3) การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
                                    4) ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
                                    5) การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
                                    6) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                                    7) การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
                                    8) การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ทฤษฎีพัฒนาการของ Gesell

ทฤษฎีพัฒนาการของ Gesell

ชื่อทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์ (Maturation Theory )
ชื่อนักทฤษฎีอาร์โนลด์ เกเซลล์ (Arnold Gesell)
หลักพัฒนาการตามแนวคิด
        อาร์โนลด์ เกเซลล์ (Arnold Gesell 1880-1961) ใช้คำ ว่าวุฒิภาวะ (maturation) เพื่อหมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (pattern) และรูปร่าง (shape) ของพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากยีนส์ (genes) หรือความพร้อมของกล้ามเนื้อและระบบประสาทจะปรากฏเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้าทางพันธุกรรม ทักษะและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันของเด็กแต่ละคนจะปรากฏในเวลาไล่เลี่ยกัน เกเซลล์ ใช้คำ ว่าวงจรของพฤติกรรม (cycles of behavior)เกเซลล์ และคณะ ศึกษาพัฒนาการของทารก เด็ก และวัยรุ่นอายุ แรกเกิด-16 ปี โดยการสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเองจากภาพยนตร์ และการสัมภาษณ์บิดามารดา และจัดกลุ่มข้อมูลสำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานของบุคลิกภาพ (Personality profile) ได้ 10 ด้าน คือ
1. ลักษณะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก 
2. สุขนิสัยส่วนบุคคล 
3. การแสดงออกของอารมณ์  
4. ความกลัว ความฝัน
5. ความเป็นตัวของตัวเอง การแสดงออกทางเพศ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7. การเล่นและการใช้เวลาว่าง
8. การเรียน
9.จริยธรรม
10. ปรัชญาชีวิต

 การนำไปใช้ในการเรียนรู้   
      กีเซลล์ (Gesell )กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำ หรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดย กีเซลล์ ได้ศึกษาความสามารถของเด็กตามแบบธรรมชาติ โดยสังเกตพฤติกรรมของเด็กตั้งแต่  แรกเกิดจนเติบโตเต็มที่ การสังเกตมีทั้งสังเกตด้วยตาและถ่ายภาพยนตร์เอาไว้ศึกษาโดยละเอียด   ภายหลังผลการศึกษา กีเซลล์ สรุปว่า ความสามารถของเด็กมีเป็นระยะและขั้นตอน แต่ละช่วงอายุมีความหมายและมีความสำคัญแก่ชีวิต เพราะเป็นรากฐานของบุคคลเมื่อเป็นผู้ใหญ่พฤติกรรมของบุคคลจะมีอิทธิพลมาจากสภาพความพร้อมทางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อ ต่อมกระดูก และประสาทต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมเป็นเพียงส่วนประกอบของการเปลี่ยนแปลง และกีเซลล์ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (gross motor development)
เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความ สัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด

2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว(fine motor or adaptive development)
 เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การประสานงานระหว่างตากับมือ ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก เช่น ในการตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นลูกบาศก์ การสั่นกระดิ่ง การแกว่งกำไล ฯลฯ ฉะนั้น พฤติกรรมด้านการปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางด้านการเคลื่อนไหว

3. พฤติกรรมทางด้านภาษา(language development)
ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด เช่น การแสดงออกทาง หน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวท่า ทางของร่างกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง และภาษาพูดการเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น

4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (personal social development)
เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะแวดล้อมและสภาพความเป็นจริงนับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของสมองและระบบการเคลื่อนไหวประกอบกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก         กีเซลล์ พบว่า ก่อนที่คนเราจะทำ อะไรง่าย ๆเช่น หยิบอาหารใส่ปากได้นั้นมีการเรียนรู้หลายขั้นตอน ขั้นแรก ทารกจะใช้มือตะปบ ขั้นต่อมาจับของด้วยมือ 4 นิ้วติดกันกับฝ่ามือ โดยเริ่มใช้ฝ่ามือตอนใกล้ ๆ สันมือ ต่อมาจะเลื่อนไปใช้ใจกลางมือ ครั้นแล้วหัวแม่มือจึงค่อยเลื่อนมาช่วยจับ ขั้นสุดท้าย คือการหยิบของด้วยหัวแม่มือกับปลายนิ้วยิ่งไปกว่านั้น กีเซลล์และคนอื่นๆ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการควบคุมการปฏิบัติการแห่งกล้ามเนื้อของคนเรามีพัฒนาการเริ่มจากศีรษะจรดเท้า เรียกว่า Cephalo Caudal Sequence คือ หันศีรษะได้ก่อนชันคอ แล้วจึงควํ่า คืบ นั่ง คลาน ยืน เดิน และวิ่งตามลำ ดับการควบคุมปฏิบัติการกล้ามเนื้อ ยังมีพัฒนาการเริ่มจากใกล้ลำ ตัวก่อน เรียกว่า Proximodistal Sequence เช่น ที่แขนขา ทารกย่อมบังคับการเคลื่อนไหว แกว่งแขนขาได้ก่อนมือและเท้า เด็กใช้แขนคล่องก่อนมือและใช้มือคล่องก่อนนิ้ว ดังนั้น เด็กเล็ก ๆ เมื่อต้องการจับอะไรก็ผวาไปทั้งตัว ต่อมาจึงยื่นออกไปเฉพาะแขนแล้ว จึงใช้มือและนิ้วมือดังกล่าว ถ้าจะให้เด็กเล็ก ๆ เขียนหนังสือมักจะได้ตัวโต เพราะกล้ามเนื้อมือยังใช้ไม่คล่องแคล่ว ได้แต่วาดแขนออกไปกว้าง ๆ ต่อเมื่อการบังคับกล้ามเนื้อบรรลุวุฒิภาวะแล้วจึงสามารถเขียนตัวเล็ก ๆ ได้ เพราะสามารถบังคับกล้ามเนื้อมือและนิ้ว
จากแนวคิด ทฤษฎี ของนักการศึกษา กีเซลโรงเรียนพิจารณาเห็นว่าสอดคล้องกับหลักสูตรสถาน ศึกษาเพื่อมาประยุกต์ใช้แบบผสมผสานการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลสามเสนฯจากแนวคิด/ทฤษฎี/ กีเซล (Gesell)
-พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรม ชาติ ไม่ควรเร่งหรือบังคับ
- การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้ากับสังคมและบุคคลรอบข้าง

การนำมาประยุกต์ใช้
- โครงสร้างของทฤษฎีกีเซล ยึดพัฒนาการเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และประสบการณ์สำคัญ
- ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหว กิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลง ฟังนิทาน

ทฤษฎีพัฒนาของ กีเซล (Gesell) อธิบายถึงพัฒนาการทางกายที่มีรูปแบบที่แน่นอนและเป็นไปตามลำดับขั้น สภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยส่งเสริมและต่อเติมพัฒนาการของเด็ก กีเซลเน้นถึงการเติบโตและลักษณะของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถึงแม้แบบแผนและขั้นตอนพัฒนาการจะเหมือนกัน พัฒนาการของเด็กเป็นกระบวนการที่ประสานสัมพันธ์กันทุกด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ดังนั้นการพัฒนาเด็กจึงต้องพัฒนาไปพร้อมๆกันทุกด้าน ทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายของกีเซลมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
                        บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง     (discovery learning)      แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ
บรุนเนอร์ มีดังนี้    (Brunner,1963:1-54)
                        ทฤษฎีการเรียนรู้
                                    1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                                    2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
                                    3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
                                    4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
                                    5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                                                5.1) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
                                                5.2) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
5.3) ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
                                    6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
                                    7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery  learning)
                        การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
                                    1) กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
                                    2) การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
                                    3) การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
                                    4) ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
                                    5) การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
                                    6) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                                    7) การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
                                    8) การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี